เพลี้ยไก่แจ้ ไก่ฟ้า ศัตรูใบอ่อนทุเรียน


หลังจากทำใบชุดใหม่กันมาได้สักระยะ ทุเรียนอยู่ในช่วงแตกใบอ่อน ศัตรูตัวฉกาจที่มักจะตามมาก็คือ เพลี้ยไก่แจ้ หรือเพลี้ยไก่ฟ้านั่นเอง โดยที่เพลี้ยเหล่านี้จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนของทุเรียนที่ยังไม่โตเต็มที่ ทำให้ใบอ่อนเป็นจุดสีเหลือง ไม่เจริญเติบโต และ เล็กผิดปกติ

มาทำความรู้จักเพลี้ยไก่แจ้อย่างใกล้ชิดกัน
ชื่อสามัญ/ชื่อพื้นเมือง : เพลี้ยไก่ฟ้า เพลี้ยไก่แจ้
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allocaridara malayensis Crawford.
วงศ์ : Psyllidae
อันดับ : Hemiptera Common name : durian psyllid

รูปร่างลักษณะ
ตัวเต็มวัยของแมลงชนิดนี้วางไข่เข้าไปในเนื้อเยื่อพืช ท้าให้เห็นเป็นวงสีเหลืองหรือน้้าตาลตามใบเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มหนึ่งมีประมาณ 8-14 ฟอง หลังจากนั้นไข่จะฟักออกเป็นตัวอ่อนขนาดยาวประมาณ3 มิลลิเมตร และมีปุยสีขาว ติดอยู่ตามล้าตัว โดยเฉพาะด้านท้ายของล้างต้นมีปุยสีขาวคล้ายๆ กับหางไก่แมลงชนิดนี้จึงได้ชื่อว่า "เพลี้ยไก่แจ้" หรือ "เพลี้ยไก่ฟ้า" เมื่อลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยมีสีน้้าตาลปนเขียวขนาดยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร มีอายุได้นานถึง 6 เดือน มักไม่ค่อยบินนอกจากได้รับความกระทบกระเทือน ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะอาศัยอยู่ด้านหลังใบตลอดเวลา
ลักษณะการทำลาย
ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยดูดกินน้้าเลี้ยงจากใบอ่อนของทุเรียนที่ยังไม่โตเต็มที่ ท้าให้ใบอ่อนเป็นจุดสีเหลือง ไม่ เจริญเติบโต และเล็กผิดปกติ เมื่อระบาดมากๆ ใบจะหงิกงอ แห้ง และร่วง นอกจากนี้ยังท้าให้ยอดอ่อนแห้ง และตายได้ โดยตัวอ่อนของเพลี้ยชนิดนี้จะขับสารสีขาวออกมาท้าให้เกิดเชื้อราตามบริเวณที่มีสารสีขาวอยู่ ในระยะตัวอ่อนจะเป็น ระยะที่ท้าความเสียหายมากที่สุด


การติดตามสถานการณ์การระบาดเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน และศัตรูธรรมชาติ
สำรวจ 10% ของต้นทั้งหมด ทุก 7 วัน
ตรวจนับ 5 ยอดต่อต้น ทั้งเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียนและศัตรูธรรมชาติ
พบเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน มำกกว่ำ 5 ตัวต่อยอด ถือว่ำยอดถูกทำลาย
ประเมินประสิทธิภาพของศัตรูธรรมชาติในกำ