top of page
รูปภาพนักเขียนKan Wanaphuwadol

"ฝนตก น้ำขัง" อย่าปล่อยให้ไฟทอปฯ ทำพังทั้งสวน


เชื้อไฟทอปธอรา (Phytophthora spp.) เป็นจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็ก เล็กมากจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า การศึกษาชีวิตของเชื้อโรคประเภทนี้จึงต้องใช้เครื่องมือพิเศษ จึงจะทำให้เข้าใจวิถีชีวิตของเชื้อได้ ซึ่งเชื้อในกลุ่มที่เรียกว่า ไฟทอปธอรา แต่เดิมนักวิทยาศาสตร์ ก็จัดให้เป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับ เชื้อรา แต่ความรู้ในปัจจุบัน พบว่า เชื้อไฟทอปธอรา มีชีวิตที่แตกต่างออกไปจากเชื้อรามาก จึงได้มีการจำแนกออกมาเป็นอีกกลุ่มที่ต่างจากเชื้อรา หรืออยู่ในอีกอาณาจักรหนึ่ง เรียกว่า กลุ่มโอโอไมซีส (oomycetes) ซึ่งยังไม่มีชื่อเรียกในภาษาไทยอย่างเป็นทางการ 


  โรคที่เกิดจากเชื้อไฟทอปธอราเข้าทำลายที่รากของต้นไม้ผลยืนต้น นั้น พบว่าเกิดได้ทั่วโลก ในเขตหนาวมีรายงานว่า ต้นแอปเปิลก็เป็นโรครากเน่า ในเขตร้อนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในออสเตรเลีย ก็พบว่า ต้นทุเรียนเป็นโรครากเน่า ในทุกเขตที่ดินมีความชื้นแฉะ ฝนชุก การระบายน้ำไม่ดี มักพบการระบาดของโรครากเน่าในสวนผลไม้ทีเกิดจากเชื้อไฟทอปธอรา 


          อาการของโรคโดยทั่วไป คือ ใบเหลือง ใบร่วงหล่นจากต้น ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ต้นทรุดโทรม ลำต้นเป็นแผลช้ำสีน้ำตาลดำ (ลำต้นเน่า) และต้นพืชจะยืนต้นตายในที่สุด ดังอาการที่เกษตรกรได้กล่าวข้างต้น


   วงจรชีวิตของเชื้อไฟทอปธอรา มีความสลับซับซ้อน การเจริญเติบโตของเชื้อ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น (น้ำ) และสภาวะทางกายภาพและเคมี ปัจจัยเหล่านี้ มีผลต่อการเพิ่มปริมาณของเชื้อ การขยายพันธุ์และการเกิดโรคบนต้นพืช โดยเฉพาะส่วนที่แตกต่างจากเชื้อรา คือ เชื้อไฟทอปธอรา จะสร้างสปอร์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยแส้และหนวดนี้ สามารถตอบสนองต่อแรงกระตุ้นจาก สารเคมี ปะจุกระแสไฟฟ้า (บวก-ลบ) ไดั จึงทำให้เชื้อเคลื่อนไหวเข้าหาเป้าหมายที่จะเป็นแหล่งอาศัย เช่น บริเวณปลายรากพืชที่มีการปล่อยสารเคมีออกมาเป็นสิ่งกระตุ้นให้สปอร์ของเชื้อไฟทอปธอรา ว่ายน้ำเข้าหาผิวเนื้อเยื่อของรากแล้วเข้าทำลายภายในรากพืช ซึ่งก็เป็นความลับในทางวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่งในวิถีชีวิตของเชื้อไฟทอปธอรา


วิธีป้องกันและรักษาทุเรียนที่มีเชื้อไฟทอปธอร่า


  • ตัดแต่งกิ่ง ทรงพุ่มให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวกเหมาะสม ไม่เป็นที่เพาะเชื้อ



  • เลี้ยงใบบำรุงสม่ำเสมอให้ต้นสมบูรณ์แข็งแรง จะสามารถต้านทานโรคได้ดี



  • ปรับสภาพโคนต้นไม่ให้มีน้ำขัง เพราะเชื้อไฟทอปธอร่าจะเคลื่อนที่ได้ดีในสภาวะดินชื้นและแฉะ



  • ฉีดพ่นล้างต้นด้วยสารตระกูลคอปเปอร์ หรือ นอร์ด็อกซ์ เพื่อทำลายแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของเชื้อ



  • ปรับดินให้เป็นกลางph 5.5-6.5 เพื่อให้สภาวะดินไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อ โดยใช้ พาวเมอร์จี หว่านในทรงพุ่มจะช่วยปรับphของดินและยังได้ธาตุอาหารอีกด้วย



  • ฉีดพ่น หรือ ฝังเข็มเข้าที่ลำต้นด้วย ฟอสฟอริค-แอซิด หรือที่รู้จักกันดีคือโฟลิอาฟอส จะทำให้ผนังเซลล์แข็งแรงต้านทานโรคได้



  • หมั่นเดินตรวจตราบ่อยๆ หากเจอต้นที่มีอาการให้รีบแก้ไขถ้าหนักให้รีบตัดไปทำลาย หรือพ่นและราดโคนด้วย ฟอสอิทิล-อลูมินั่ม หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ อาลีเอท(ปัจจุบันมีหลายบริษัทหลายเจ้าขึ้นอยู่กับคุณภาพการละลายและราคา แต่ไม่แนะนำให้ใช้ เมทาแลคซิล เพราะหลายๆผลวิจัยณปัจจุบัน ตัวเชื้อไม่ตอบสนองต่อตัวยาแล้ว)





ดู 45 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page